การแจ้งเตือนผลกระทบสภาพอวกาศล่วงหน้า
(Advance Warning of Space Weather Effects)

      เมื่อดวงอาทิตย์เกิดการปะทุและปลดปล่อยกลุ่มอนุภาคจำนวนมากภายในเวลาอันสั้น เราเรียกกลุ่มอนุภาคนี้ว่า coronal mass ejection หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า CME ซึ่งมีความเร็วสูง และก่อให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในลมสุริยะที่เรียกว่า คลื่นกระแทก (shocks) คลื่นกระแทกและรังสีคอสมิกนี้สามารถส่งผลกระทบต่อมนุษย์ที่อยู่บนโลกได้และเรียกผลกระทบนี้ว่า สภาพอวกาศ (space weather effects) ในประเทศไทยได้มีการศึกษาการขนส่งอนุภาคในบริเวณใกล้หน้าคลื่นกระแทก และใกล้หลังคลื่นกระแทก (การลดลงของรังสีคอสมิกแบบฟอร์บุชขั้นแรก) โดยการจำลองสถานการณ์บริเวณใกล้คลื่นกระแทกซึ่งใช้การคำนวณเชิงตัวเลขแก้สมการการขนส่งอนุภาคต่อเวลา พบว่า ความกว้างของสัญญาณล่วงหน้านั้นสามารถช่วยพยากรณ์ว่าผลกระทบเนื่องจากสภาพอวกาศที่กำลังจะเกิดขึ้นเกิดจากคลื่นกระแทกชนิดใด จะมาถึงโลกและส่งผลกระทบต่อโลกเมื่อใด ซึ่งข้อมูลที่นำมาศึกษานั้นก็จะมาจากสถานีตรวจวัดนิวตรอนนั่นเอง โดยในประเทศไทยเชื่อว่าข้อมูลจากสถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธรสามารถพยากรณ์หรือเตือนภัยล่วงหน้าได้เป็นระยะเวลา 4 - 6 ชั่วโมงก่อนที่คลื่นกระแทกจะมากระทบโลก ในขณะที่เทียบกับที่ NASA ใช้เป็นประจำจะเตือนได้ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง (โดยการวัดโดยตรงที่ยานอวกาศ ACE)

เอกสารอ้างอิง

- http://www.thaispaceweather.com/

จัดทำโดย : แผนกภูมิอากาศ กขอ.คปอ.